สำหรับบทความนี้ก็เขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ก่อนจะไปกันต่อมีอยู่ 5 - 6 อย่างที่จะต้องทำความเข้าใจก่อนนั้นคือ
1. ปริมาณของแสงแดด
2. ชั่วโมงแสงแดด
3. ความชื้นของสถานที่ปลูก (ความชื้นน่ะครับไม่ใช่ความแฉะเพราะบางคนเข้าใจว่าตัวเดียวกัน)
4. สายพันธุ์ของหม้อข้าวหม้อแกงลิงต้นนั้นๆ
5. ชนิดของเครื่องปลูก (เจ้าสิ่งนี้ก็สำคัญมากเช่นกันเพราะไม้แต่ละพันธุ์มีระบบรากไม่เหมือนกันทนความแฉะของเครื่องปลูกได้ไม่เหมือนกัน )
6. อุณหภูมิของสถานที่ปลูก
เมื่อพอจะเข้าใจคร่่าวๆแล้ว ต่อไปก็จะอธิบายต่อในสไตล์ของผมเกี่ยวกับเจ้าสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้น
1. ปริมาณของแสงแดด คือ ความเข้มของแสงแดดที่ส่องโดนต้นไม้ที่เราเลี้ยง (มีความเชื่อผิดๆ ว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้ร่ม จริงๆ แล้วหม้อข้าวหม้อแกงลิง ส่วนใหญ่เป็นไม้แดดทั้งนั้น เพียงแต่ต้องการความเข้มของแสงไม่เท่ากันเท่านั้นเองมีตั้งแต่ต้องการแดดเป็นปริมาณ 50% จนกระทั่งถึง 100% เลยทีเดียว เจ้าแสงแดดเนี้ยมีผลต่อการออกหม้อของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงอย่างชัดเจน
2.ชั่วโมงแสงแดด (ตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่าอ้าวทำไมมันต่างกับข้อ 1 อย่างไร) เจ้าชั่วโมงแดดนี่มีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียวบ่อยครั้งที่เราจะพูดถึงการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงว่าต้องให้โดนแดด แต่ไม่ค่อยมีคนบอกว่าชั่วโมงแดดเนี้ยก็มีผลเยอะมากสำหรับการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงแล้วจะรุ่งหรือจะร่วง จะออกหม้อหรือว่าจะเป็นไม้ใบ ส่วนใหญ่แล้วหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ เป็นไม้ โลว์แลนด์เนี้ย ต้องการชั่วโมงแดด มากกว่า 3 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังมีองค์ประกอบอื่นอีก
3.ความชื้นของสถานที่ปลูก ส่วนใหญ่แล้วหม้อข้าวหม้อแกงลิงต้องการความชื้นในอากาศในบริเวณที่เราปลูกไม่ต่ำไปกว่า 50%จนถึง 80% เลยทีเดียวแต่ส่วนใหญ่ถ้าทำให้บริเวณนั้นมีความชื้นอยู่ที่ 60% - 70% จะเป็นการดีมากเพราะถ้าความชื้นไม่ถึงในหลายสายพันธุ์ติ่งของหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะไม่มีการพัฒนาเป็นหม้อหรือไม่ก็จะฝ่อไปดื้อๆ เลยทีเดียวในกรณีที่เลวร้ายมากมันจะเป็นเพียงแค่ไม้ใบเพราะแม้แต่ติ่งหม้อก็จะไม่สร้างด้วย เกือบลืมไปความชื้นเนี้ยมีผลกับขนาดของหม้อเช่นกันสำหรับสายพันธุ์ที่มีหม้อขนาดใหญ่น่ะครับ
4.สำหรับสายพันธุ์ของหม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้นผมยังจะไม่พูดถึงมากแต่จะพูดถึงในส่วนของลักษณะพื้นที่ๆ มันขึ้นก็แล้วกันครับการจะเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะต้องเข้าใจก่อนว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้นมีการขึ้นตามลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันใหญ่ๆ แล้วแบ่งได้ 3 ชนิดคือ ไม้โลว์แลนด์ ไม้อินเทอมิเดีย และไม้ไฮแลนด์ (อันนี้ผมจะไม่กล่าวถึงเรื่องที่แบ่งความสูงจากระดับน้ำทะเลละกันว่ามันแบ่งเท่าไรบ้าง เอาไว้ผมจะมาปรับปรุงให้ในคราวหลัง) เจ้าไม้โลว์แลนด์เนี้ยเป็นไม้เลี้ยงง่ายไม่ค่อยจุกจิก ส่วนใหญ่ต้องการแสงแดด 70% จนถึง 100% ส่วนความชื้น 60% ขึ้นไปก็น่าจะเอาอยู่แต่เอาไม่อยู่ในบางสายพันธุ์เช่นกัน
เจ้าไม้อินเทอมิเ้ดีย อันนี้เป็นพวกไม้ลูกครึ่งต้องการแสงแดด 50% จนถึง 70% เท่านั้นส่วนเรื่องความชื้นเนี้ย 70% ขึ้นไปซะส่วนใหญ่
เจ้าไม้ไฮแลนด์เนี้ย อันนี้มีสีสรรสวยงามกว่าโลว์แลนด์เยอะ ทรงหม้อ ทรงปากหม้อ มันแน่กว่าเยอะถ้าในความเห็นผมน่ะแต่เจ้านี้บางตัวต้องการแดด 50% - 60% ซะมากเพราะถ้าแดดแรงเนี้ยเจ้าพวกนี้อาจหนีกลับถิ่นกำเนิดเลยทีเดียว ส่วนเรื่องความชื้นเนี้ยต้อง 80% ขึ้นไปและความชื้นต้องนิ่งมากด้วย เรียกว่าเลี้่ยงยากเอาการที่จะให้รอดแล้วยังยากที่จะให้ออกหม้อทีเีดียว นี่ยังไม่รวมถึงขนาดหม้อที่จะไม่ใหญ่มาก
ในบางครั้งเราไปซื้อไม้แล้วพ่อค้าแม่ค้าบอกเจ้าพวกนี้เลี้ยงได้ แต่อันนั้นจริงหรือคุณเองคงต้องลองเอง เพราะไม้ราคาหลักพันคงเป็นบทเรียนที่ดีทีเดียวสำหรับผม ถ้าเป็นมือใหม่แนะนำให้ผ่านเจ้าพวกนี้ไปก่อนครับสำหรับไม้ไฮแลนด์
5.ชนิดของเครื่องปลูก อันนี้ก็มีมากมายเหลือเกิน ตั้งแต่กาบมะพร้าวสับ หินภูเขาไฟ มอสสด สแปคนั่มมอส (มอสเส้นเหลืองๆ ) ฯ
ส่วน เจ้าเพอร์ไรท์นั้นจะใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องปลูก แต่สำหรับผมแล้วเป็นพวกไม้โลว์แลนด์ส่วนใหญ่จะใช้กาบมะพร้าวสับล้วน (สำหรับกาบมะพร้าวสับเนี้ยจะมี 3 เบอร์ด้วยกันสำหรับบางท่านที่ไม่รู้ นั่นคือ สับละเอียด สับกลาง และสับหยาบ ที่เราจะใช้กันส่้วนใหญ่จะใช้สับละเอียดกับสับกลาง ถ้าเป็นไม้ขนาดไม่ใหญ่มากส่วนใหญ๋ผมจะใช้สับเล็กเพราะว่าช่องว่างของเครื่องปลูกไม่มากเกินไป แต่ถ้าเป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ (เกิน 1 ฟุตไปแล้วหรือไม้ที่สูงขนาด 1 เมตรผมใช้กาบกลางกับกาบเล็กผสมกันแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับ ขนาดของกระถางด้วยเพราะหลายคนปลูกไม้แค่ในกระถาง 8 นิ้วก็เลี้ยงจนต้นขนาดเมตรกว่าๆ แล้วก็เลี้ยงไปเรื่อยๆ ส่วนผมชอบเปลี่ยนกระถางถ้าไม้เมตรหรือฟุตกว่าๆ ไปแล้วชอบใช้กระถาง 11 นิ้ว ยกเว้น แอมพูลาเรีย ที่ผมจะเ้ลี้่ยงที่ขนาดกระถาง 15 นิ้วบ้างในบางต้นเพราะเจ้าพวกนี้มีหม้อผุดด้วยจึงต้องเลี้ยงกระถางใหญ่ซักหน่อย (ส่วนกาซิลิส กับไตโชคาป้าน่ะ ขนาดต้นมันเล็กกว่าแอมพูลาเรียอยู่มากครับแค่ 11 นิ้วก็เหลือแล้ว ) อ๋อเจ้าตัวที่ใช้กระถางใหญ่อีกก็จะมี มิรันด้า โกทิก้า ไวกิ้งราฟ ราฟเซียน่า ฯ อยู่ที่ขนาดลำต้นครับ อ๋อไทเกอร์เองผมก็เลี้ยงกระถางใหญ่เช่นกันครับ เพราะเจ้านี้ต้นไม่ใหญ่แต่สูงไวต้นหักง่ายจึ้งต้องใช้ไม้ดามไว้ครับ
6. อุณภูมิที่ปลูกเนี้ย ถ้าเป็นไม้โลว์แลนด์เนี้ย 25 - 33 องศา c สบายๆ ครับแต่ไม่สบายในบางตัว แต่ไฮแลนด์เนี้ย เกิน 25 องศา c ก็แย่แล้วครับ ที่กล่าวมาคืออุณภูมิกลางวันน่ะครับ ส่วนกลางคืนนั้นก็ต้องต่ำกว่านี้ครับ สำหรับช่วงอุณภูมิ สำหรับบ้านผมเองอยู่ในกรุงเทพฯ แล้วก็เลี้ยงแบบเปิด (คือไม่มีโรงเรือนและไม่มีการปรับสภาพอากาศ ) กลางวัน 33 - 34 องศา c ครับ ส่วนกลางคืน 22 - 25 องศา c ครับแต่ก็แล้วแต่ฤดูกาลด้วย
อื่นๆ ที่หลายคนอยากรู้
- จำเป็นต้องเติมน้ำลงไปในหม้อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงไหม คำตอบของผมคือไม่จำเป็นครับ เพราะถ้าระบบรากเค้าสมบูรณ์ดีเนี้ยเค้าจะดูดน้ำเข้าและออกเองได้ครับ การเติมน้ำลงไปเ้องในหม้อผมมองว่าเป็นการสร้างภาระให้เพราะน้ำจะเพิ่มน้ำหนักให้กับก้านที่ต้องรับน้ำหนักใบและหม้อ
- จำเป็นต้องให้ปุ๋ยหม้อข้าวหม้อแกงลิงไหม จากประสบการณ์ของผมเองเวลาที่เราให้ปุ๋ยหม้อข้าวหม้อแกงลิงแล้วถ้าต้นสมบูรณ์มากไปส่วนใหญ่หม้อจะหายไปนานมากๆ ที่ผมเลี้ยงอยู่ไม่ได้ให้ปุ๋ยเลย จะมีให้ก็เป็นปุ๋ยที่ให้ทางใบ แต่ก็นานๆ ให้ซักทีครับ
- หม้อข้าวหม้อแกงลิงเนี้ยแขวนดีหรือวางพื้นดี สำหรับผมมีหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่แขวนไม่กี่ต้นที่เหลือส่วนใหญ่เลี้ยงให้ใกล้พื้นครับ เพราะยิ่งสูงความชื้นก็จะน้อยลงด้วยครับ
- การวางหม้อข้าวหม้อแกงลิงในที่ลมพัดแรงนั้นไม่ส่งผลดีกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงนัก เพราะลมจะพัดเอาความชื้นในบริเวณนั้นไป นอกจากนี้ความชื้นในเครื่องปลูกเองก็จะสูญเสียไปมากด้วย (จะัเห็นได้ชัดมากในหน้าหนาว)
นี่ก็เป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้มาจากการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นเวลา เกือบ 2 ปีเดียวผมจะลงรูปสถานที่เลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงของผมให้ได้ชมกันครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น