วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เฟิร์น (fern)

เจ้านี่คงไม่ต้องบอกว่าเป็นไม้ที่นิยมกันมานานแค่ไหนแล้ว มีหลายชนิดแต่คงไม่แจกแจงเยอะนักเพราะว่าผมเองก็มีความรู็แค่หางอึ่งเท่านั้นเองแต่ที่เลี้ยงเพราะว่าชอบ เพราะในแต่ละชนิดก็มีเสน่ห์ของเค้าเอง
เฟิร์นสไบนาง สำหรับคนชอบเฟิร์นก้านยาวๆ พริ้วๆ ต้องเจ้านี่เลยเค้าว่ากันว่าเลี้ยงดีๆ ยาวๆได้ 3 เมตรเชียว

เฟิร์นบรูไน อันนี้ก็เป็นเฟิร์นก้านยาวแต่แข็งไม่ตกพริ้วเหมือนเฟิร์นสไปนางความยาวที่เคยเลี้ยงได้ก็ประมาณเกือบๆ 2 เมตรครับแต่เจ้านี้เลี้ยงยังไม่ถึงปีเลยไม่รู้ความยาวที่แน่นอน

เฟิร์นปีกแมลงทับ หรือแววปีกแมลงทับเนี้ยแหล่ะอันนี้เป็นเฟิร์นที่คล้ายพลาสติกมาก มากว่าที่มีชื่อว่าเฟิร์นพลาสติกเสียอีกตอนแรกแม่เอามาไว้ในบ้านยังนึกว่าเป็นเฟิร์นปลอมเลย

เฟิร์นบริพัตร อันนี้เป็นอีกตัวที่แขวนได้ตั้งไว้ที่หัวเสาได้คล้ายสไบนางแต่ก้านแข็งกว่าแต่ใบพริ้วเช่นกันความยาวที่เคยเห็นประมาณ 2 เมตรกว่าๆ 

อโลคาเซีย (Alocasia )

ไม้ใบสวยๆ อีกชนิดหนึ่งครับ เจ้านี่จริงๆ แล้วมีอยู่เยอะมากครับ แต่ที่จะนำเสนอก็คงจะเป็นชนิดที่ๆ บ้านผมมี
ต้นนี้คนขายบอกว่าชื่อนาคราช มีผู้รู้บอกมาว่าเข้าหน้าหนาวหลังใบจะเป็นสีแดง และมีหลายท่านบอกว่าตัวนี้เป็นไม้เก่ามาก (มีขายกันมาตั้งแต่สมัยสนามหลวงเป็นที่ขายของน่ะครับ คิดดูล่ะกันว่ากี่ปี)
ซันโตโซม่าคือชื่อของเจ้านี่ เลี้ยงไม่ยากแต่โตช้าได้ใจครับในภาพเนี้ยเลี้ยงมาปีกว่าๆ น่ะครับจากต้นเล็กน่ะ

คนขายบอกชื่อแก้วสารพัดนึก หน้าตาจะคล้ายแก้วหน้าม้าต่างกันตรงที่ แก้วหน้าม้าใบจะเป็นสามเหลี่ยมไม่มีหยักครับ

เจ้านี่เค้าก็ว่าใช่ นามว่ากระดาษไซด์นี่ไม่ต้องพูดครับใหญ่กว่าเจ้าพวกข้างบนอยู่เยอะมาก

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes)

N.Red Leopard (maxima x ventricosa)

N.Gothica (sibuyanensis x maxima)
ราฟ อะไรสคว๊อทเรดมั๊งครับ 
N.coccinea x raff / คล๊อกซิเนีย ราฟ

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เอาบุญมาฝากทุกคนครับ

พอดีที่หายไป ผมไป วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี เพื่อปฏิบัติกรรมฐาน ครับ ระหว่าง14-22 กรกฏาคมที่ผ่านมา
แต่ก็ได้แค่บอกกล่าวกันครับ พอดีว่าตั้งใจไปปฏิบัติ เลยไม่ได้เอากล้องไปเก็บภาพมาฝากกันครับ สำหรับผมเคยไปมาแล้ว 1 ครั้งและครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 2 ครับ ดีครับมีเวลาไปทำสิ่งดีๆ ใครว่างหรือพอมีเวลาลองแวะไปดูได้น่ะครับ อันนี้แนะนำเลยครับ แต่ต้องบอกก่อนว่าถ้าไปควรเตรียมตัวให้ดี กำลังใจให้ดีด้วยเพราะถ้าไปแล้วไม่ปฏิบัติอย่างนี้แนะนำว่าแค่แวะไป นมัสการ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม ก็ได้น่ะครับ

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง 2

สิ่งที่ควรรู้
1. อย่าไปใ่ส่ปุ๋ยให้หม้อข้าวหม้อแกงลิง ไม่งั้นมันจะกลายเป็นไม้ใบ (ไม่ยอมสร้างหม้อ) ต้นจะงามใบงามเลยทีเดียว
2. ต้องเติมน้ำในหม้อเพื่อไม่ให้หม้อฝ่อจริงหรือ ขอบอกเลยว่าไม่จริงเพราะการเติมน้ำลงไปจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักหม้ออันเป็นภาระของก้านใบและจะทำให้ก้านใบหัก
3.ถ้าหม้อเก่าเหี่ยวแล้วใบนั้นจะมีหม้ออีกไหม ขอบอกเลยครับว่าไม่มีแล้ว 1 หม้อต่อ 1 ใบครับแต่อย่าไปตัดใบเก่าทิ้งน่ะครับเพราะใบนั้นยังมีประโยชน์อยู่สำหรับต้นไม้

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฟิโลเดนดรอน (Philodendron)

ฟิโลหูช้างด่าง เจ้านี่โตช้ามากๆ ครับเป็นไม้กอไม่เลื้อย

เศรษฐีมีทรัพย์ เจ้านี่หาข้อมูลมาเค้าว่าเป็นฟิโลเช่นกันครับ ชอบครับใหญ่ดี

ฟิโลหูช้า เลื้อย

หน้าวัวใบ (Anthurium)

หัวใจเศรษฐี หน้าวัวใบลักษณะนี้มีทั้งหมด 3 ขนาดคือใหญ่ใบกว้างได้เกือบ 1 เมตร ขนาดกลางใบเกือบๆ 1 ฟุต และก็เจ้าตัวนี้ใบจะเล็กมาก
เงินหนา เจ้านี้โตช้าอยู่พอควรเอาแน่เอานอนไม่ได้ใบหนาแข็ง ราคาก็ัยังแรงอยู่ในปัจจุบัน
ใบผักกาดก้านแดง เจ้านี่จะมีก้านเขียวด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง

สำหรับบทความนี้ก็เขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ก่อนจะไปกันต่อมีอยู่ 5 - 6 อย่างที่จะต้องทำความเข้าใจก่อนนั้นคือ
1. ปริมาณของแสงแดด
2. ชั่วโมงแสงแดด
3. ความชื้นของสถานที่ปลูก (ความชื้นน่ะครับไม่ใช่ความแฉะเพราะบางคนเข้าใจว่าตัวเดียวกัน)
4. สายพันธุ์ของหม้อข้าวหม้อแกงลิงต้นนั้นๆ
5. ชนิดของเครื่องปลูก (เจ้าสิ่งนี้ก็สำคัญมากเช่นกันเพราะไม้แต่ละพันธุ์มีระบบรากไม่เหมือนกันทนความแฉะของเครื่องปลูกได้ไม่เหมือนกัน )
6. อุณหภูมิของสถานที่ปลูก


เมื่อพอจะเข้าใจคร่่าวๆแล้ว ต่อไปก็จะอธิบายต่อในสไตล์ของผมเกี่ยวกับเจ้าสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้น
1. ปริมาณของแสงแดด คือ ความเข้มของแสงแดดที่ส่องโดนต้นไม้ที่เราเลี้ยง (มีความเชื่อผิดๆ ว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้ร่ม จริงๆ แล้วหม้อข้าวหม้อแกงลิง ส่วนใหญ่เป็นไม้แดดทั้งนั้น เพียงแต่ต้องการความเข้มของแสงไม่เท่ากันเท่านั้นเองมีตั้งแต่ต้องการแดดเป็นปริมาณ 50% จนกระทั่งถึง 100% เลยทีเดียว เจ้าแสงแดดเนี้ยมีผลต่อการออกหม้อของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงอย่างชัดเจน
2.ชั่วโมงแสงแดด (ตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่าอ้าวทำไมมันต่างกับข้อ 1 อย่างไร) เจ้าชั่วโมงแดดนี่มีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียวบ่อยครั้งที่เราจะพูดถึงการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงว่าต้องให้โดนแดด แต่ไม่ค่อยมีคนบอกว่าชั่วโมงแดดเนี้ยก็มีผลเยอะมากสำหรับการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงแล้วจะรุ่งหรือจะร่วง จะออกหม้อหรือว่าจะเป็นไม้ใบ ส่วนใหญ่แล้วหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ เป็นไม้ โลว์แลนด์เนี้ย ต้องการชั่วโมงแดด มากกว่า 3 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังมีองค์ประกอบอื่นอีก
3.ความชื้นของสถานที่ปลูก ส่วนใหญ่แล้วหม้อข้าวหม้อแกงลิงต้องการความชื้นในอากาศในบริเวณที่เราปลูกไม่ต่ำไปกว่า 50%จนถึง 80% เลยทีเดียวแต่ส่วนใหญ่ถ้าทำให้บริเวณนั้นมีความชื้นอยู่ที่ 60% - 70% จะเป็นการดีมากเพราะถ้าความชื้นไม่ถึงในหลายสายพันธุ์ติ่งของหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะไม่มีการพัฒนาเป็นหม้อหรือไม่ก็จะฝ่อไปดื้อๆ เลยทีเดียวในกรณีที่เลวร้ายมากมันจะเป็นเพียงแค่ไม้ใบเพราะแม้แต่ติ่งหม้อก็จะไม่สร้างด้วย เกือบลืมไปความชื้นเนี้ยมีผลกับขนาดของหม้อเช่นกันสำหรับสายพันธุ์ที่มีหม้อขนาดใหญ่น่ะครับ