เรื่องเล่าเกี่ยวกับหม้อข้าวหม้อแกงลิง กับไม้พื้นๆ ที่บ้านผม รวมถึงไม้ดอกและไม้ประดับหลากหลายพันธุ์ด้วยครับ
วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554
คั่นเวลาก่อน
ช่วงนี้ก็อย่าพึ่งเบื่อกันซะก่อน เพราะเข้ามาทีไรก็เห็นแต่เฟิร์น แล้วหม้อข้าวหม้อแกงลิงล่ะ ฟิโลล่ะ หน้าวัวใบล่ะไปไหน ส่วนอโลคาเซียคงต้องโบกมือลา เพราะตายหมดเลย จะเหลือก็แค่กระดาษเขียว กระดาษด่างสีทอง กระดาษด่าง
อันที่จริงแล้วหม้อข้าวหม้อแกงลิง มันย้ายที่บ่อยหม้อเลยไม่ค่อยมี เนี้ยก็พึ่งจะย้ายบางส่วนไปหลังบ้านตามเดิม เลยไม่ค่อยได้ถ่ายมาลงแต่ว่าเป็นดอกอยู่หลายต้นเชียว มีตัวเมีย 4 ต้นน่าจะได้และตัวผู้อีกหลายต้น ก็มาชดเชยส่วนที่เสียไปตอนนี้ท่วม และช่วงนี้ก็คงเข้ามาเขียนแต่ว่าคงลงรายละเอียดได้ยังไม่มาก เพราะวุ่นๆ อยู่ตอนนี้ว่าจะ ใส่หมวดไม้อื่นๆ เข้ามาด้วยรวมไปถึงพันธุ์ไม้ไม่กลัวน้ำสำหรับบางคนที่อยากปลูกต้นไม้แต่ก็กลัวน้ำจะมาอีก
เฟิร์นมด หรือตาลมังกร(ใหญ่)ของไทย พอดีต้นนี้ได้มาหลังต้นแรกที่โชว์ไป แต่ใหญ่กว่า |
เฟิร์นมหัสแดง เป็นทรีเฟิร์นว่ากันว่าเจ้านี้มีมาตั้งแต่ยุคหลายร้อยล้านปีก่อน |
เฟิร์นบริพัตร หลังจากน้ำท่วม ยอดแทงกันไม่บันยะบันยังเลย |
วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554
เสริมสร้างไม้ใหม่หลังน้ำลด
หลังจากน้ำลด ก็หาไม้มาเลี้ยงแล้วทำขายกันต่อไป จริงๆ แล้วเฟิร์นสายเนี้ยเลี้ยงมาก่อนน้ำจะท่วมได้พักนึงแล้ว แต่จุดเิริ่มต้นน่ะมาจากพี่ชายมาฝากเฟิร์นสายเอาไว้ รดน้ำให้ทุกวันมองไปมองมาก็เริ่มชอบ เริ่มจาก หางสิงห์ ช้องนางคลี่ สร้อยนางกรอง ก็ประมาณนั้น เพราะจริงๆ แล้วไม้ที่เลี้ยงอยู่ส่วนตัวก็มี หม้อข้าวหม้อแกงลิง หน้าวัวใบ ฟิโลเดนดรอน (พวกนี้เสียหายหมดเลยแต่ไม่ตายเพราะกู้เอาไว้ได้อยู่ในระยะฟื้นพูและได้หามาเพิ่มอีกด้วย) เฟิร์น อโลคาเซ๊ย (แต่เจ้าพวกนี้ ตายไปสามอย่าง) เหลือก็แต่กระดาษเขียว พญาจงอาง(ก็มาจากกระดาษเขียวแต่ลำต้นลาย) กระดาษด่างขาว กระดาษด่างสีทอง(เจ้านี้ตัดต้นบังคับให้ออกหน่อใหม่แล้ว)
อ๋อแปลกแต่จริง เฟิร์นเนี้ยเจอน้ำท่วมเข้าไปถ้าไม่ตายเนี้ย มันนิ่งไปพักแล้วจะ แห่กันแทงยอดออกมาเลย
เฟิร์น สมาชิกใหม่ที่บ้าน |
เฟิร์นหูช้าง ของแถมที่ติดมาในกระถาง |
เฟิร์น อันนี้ก็เช่นกัน แต่เคยเลี้ยงเมื่อนานมาแล้ว (ตายแล้ว) รอบนี้ลองใหม่ |
วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ก็เป็นไม้บางส่วนที่เหลือ ยังมีอีก เดียวค่อยลงแบบ แบ่งเป็นหมวดเหมือนเดิม
อ๋อครับ ประสบการณ์ตรงอีกเรื่อง สำหรับ"การเก็บต้นไม้ยามน้ำท่วม" ทำยังไงดี เดียวผมมีคำตอบให้ อาจจะช้า (เพราะเน็ทดันเดี้ยงยาว) แต่เผื่อมีบางท่านอาจเอาไปประยุกต์ใช้ รวมทั้งสาระดีๆ อีกมากที่มาจากประัสบการณ์ตรง ทั้งหม้อข้าวหม้อแกงลิง เฟิน หน้าวัวใบ ฟิโลเดนดรอน ฯ ก็จะค่อยๆ เขียนลงไปเรื่อยๆ ครับ รับรองงานนี้ไม่มีกั๊ก
หม้อฯ ไตรโชคาป้า |
ทิเลนเซีย เลี้ยงไว้นานแล้วเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยสันทัด ดีที่เอาหนีขึ้นห้อง ไม่งั้นจมน้ำไปแล้ว |
วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ประมวลภาพช่วงน้ำท่วมบ้าน
เป็นบรรยากาศช่วงน้ำขึ้นสูงสุดจนกระทั่งน้ำลดลง
บอกได้คำเดียวว่าเหนื่อยมากๆ แต่ก็คุ้มค่ากับการที่เราได้รักษาต้นไม้เอาไว้ แต่บางส่วนที่เสียไปเพราะขนหนีน้ำแล้วแต่ โดนคลื่นน้ำจากรถบ้าง เรือบ้างซัดตกไป หรือแม้กระทั่ง จากระดับน้ำที่ยังเพิ่มขึ้นอีกในยามค่ำคืน ก็ทำให้ช่วงแรกๆ เครียดที่เสียต้นไม้ไปเพราะ ไม้พวกนี้ปรับสภาพแล้ว สามารถเลี้ยงแบบไม่มีโรงเรือนได้ แล้วพวกหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่กำลัง เริ่มเข้าฟอร์มอีก พวกเฟิิร์นเนี้ย ก็โดนไปพอควรเลย หน้าวัวใบเนี้ยก็แย่ไเยอะ ส่วนต้นหน้าวัวใบเล็กๆ ที่เพาะไว้เมื่อต้นปี หายไปกับน้ำหมด ฟิโลเดนดรอน กำลังไปได้สวย ก็รับน้ำกันไปเต็มๆ เลย ตอนแรกโง่มาก เพราะเจ้าพวกนี้กระถางใหญ่ แต่ก็รู้เพราะพยายามจะช่วยต้นไม้ พวกฟิโลเนี้ย จับถกกระถางออกเหลือตุ้มรากพาดเอาไว้ แล้วคอยรดน้ำ ไม่มีตายครับ
น้ำที่ถนนหน้าบ้าน |
น้ำในลานบ้าน |
วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ความสูญเสีย
น้ำท่วมครั้งนี้ หนักหนามากครับ เก็บต้นไม้ได้น้อยเหลือเกิน ปริมาณน้ำจนถึงทุกวันนี้ก็ไม่ทรงตัว ที่บ้านโดนน้ำท่วมมาแล้ว 5-6 วันได้สงสารต้นไม้มาก พวกหม้อข้าวหม้อแกงลิงต้องพยายามเอาไว้ให้ได้มากที่สุดเพราะไม้พวกนี้ปรับสภาพแล้ว ฟิโลวันนี้พึ่งดึงออกจากกระถางเพราะยอดจมน้ำไปแล้ว เลยต้องดึงออกฟาดไว้ตามต้นไม้ให้รากจุ่มน้ำ ส่วนเฟิร์น ก็มีพวกกระถางใหญ่ๆ ที่วางกับพื้นโดนหนัก พวกกีบแรดเนี้ย จับถอดกระถางเอาแต่หัวไว้ หัสแดงก็ต้องถอดออก คิดว่าพรุ่งนี้คงได้ทำเครื่องปลูกชั่วคราวให้ก่อน
สำหรับใครที่น้ำยังไปไม่ถึงหรือ มีโอกาสน้ำท่วมแนะนำให้ถอดกระถางครับ เพราะมันจะช่วยให้เก็บได้ไวมาก น้ำท่วมกรุงเทพครั้งนี้มากจริงๆ ที่บ้าน บริเวณบ้านเมตรกว่าไปแล้ว ในบ้านนี่ก็เกือบ 50 เซนแล้ว
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554
รวมๆ กันไปก่อน
วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554
ว่ากันด้วยเรื่องดอกของหม้อข้าวหม้อแกงลิง
อย่างที่เคยบอกไปแล้ว (หรือยังจำไม่ได้) ว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้ที่แยกเพศ และช่วงนี้ก็พอเหมาะทีเดียวเพราะหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่บ้านออกดอกพอดี จริงๆ แล้วเค้าจะเริ่มออกดอกช่วงตุลาคม ไปจนถึงช่วงมีนาคม (อันนี้เป็นครั้งแรกที่เห็นว่าออกดอกน่ะครับ) แต่จริงๆ แล้วหม้อข้าวหม้อแกงลิงออกดอกได้ทั้งปีเช่นกัน อาจขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมด้วยล่ะมั๊งครับ (อันนี้คิดเอาเอง) เพราะที่้บ้านผมกลางวันร้อนมาก แดดแรง กลางคืนอากาศจะเย็นและชื้นมาก เอาล่ะโม้มาพอควรแล้วก็เอาภาพมาโชว์เลยดีกว่า
อันนี้เป็นดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิงตัวเมีย วิธีสังเกตุ กระเปาะดอกจะไม่กลมคล้ายไข่ |
อีกภาพครับสำหรับดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิงตัวเมียที่เหยียดดอกแล้วแต่เป็นอีกต้น |
ส่วนนี้เป็นดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิงตัวผู้ครับ กระเปาะดอกจะกลมเหมือนลูกปิงปอง |
วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554
คั่นเวลากันต่อไปก่อน
ช่วงนี้โชว์รูปไปก่อนน่ะครับ
ฟิโลเดนดรอนตัวล่าสุดย้ายจากร้านกลับมาที่บ้านครับ เจ้านี่ยังจับทางไม่ได้ ที่ตั้งอยู่นี่โดนแดดบ่ายเต็มๆ เลยว่าจะย้ายอยู่ครับ |
ซาราซิเนีย ไม้กินแมลงอีกเช่นกันเป็นไม้อีกชนิดที่น่าสนใจ |
n.เ้วนไตรโครซ่า x ซิบูยัน ตัวนี้เค้าว่าเป็นลูกผสมในไทย |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)